ไอคอนโครงการด้านสิ่งแวดล้อมโครงการด้านสิ่งแวดล้อม

04. การอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและชุมชนท้องถิ่น

เขตชีวชาติ (Biotope) Minuma Tanbo Shutoko

มีการกำหนดเขตชีวชาติ (สถานที่ที่สิ่งมีชีวิตนานาชนิดบริเวณพื้นที่นั้นอาศัยอยู่) ที่ใต้ทางพิเศษยกระดับเป็นระยะทางยาว 1.7 กม. กินพื้นที่ 6.3 เฮกตาร์ บนทางพิเศษสาย Saitama Shintoshin เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศภายในเขต Minuma Tanbo ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สีเขียวอันทรงคุณค่าที่ยังคงเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งในบริเวณชานเมืองหลวง โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง “ทางพิเศษแห่งใหม่ในเขตเมืองที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติ” นอกจากจะปล่อยให้เกิดการฟื้นฟูตัวเองของธรรมชาติในเขตชีวชาติแล้ว ในขณะเดียวกันก็มีการเฝ้าสังเกต (ตรวจสอบเป็นระยะ ๆ) และมีการบริหารจัดการตามความจำเป็นขั้นพื้นฐานเพื่ออนุบาลสัตว์และพันธุ์พืช เช่น พืชพรรณที่ปลูกไว้
เราได้รับความร่วมมือในงานบริหารจัดการบางส่วนจากประชาชนทั่วไปและนักเรียนนักศึกษาที่กำลังศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และมีการสร้างโอกาสต่าง ๆ เช่น กิจกรรมสำรวจธรรมชาติ เพื่อให้เด็กนักเรียนอนุบาลในท้องถิ่นได้สัมผัสกับสิ่งมีชีวิตใกล้ตัว และร่วมมือกับผู้คนในชุมชนมุ่งสร้างเขตชีวชาติที่มีชุมชนเป็นศูนย์กลางและใกล้ชิดกับทุกคน

ภาพแผนที่เขตชีวชาติ (Biotope) Minuma Tanbo
ภาพแผนที่เขตชีวชาติ (Biotope) Minuma Tanbo Shutoko
กิจกรรมสำรวจธรรมชาติสำหรับเด็กอนุบาล

กิจกรรมสำรวจธรรมชาติสำหรับเด็กอนุบาล

การศึกษาภาคปฏิบัติโดยนักศึกษามหาวิทยาลัย

การศึกษาภาคปฏิบัติโดยนักศึกษามหาวิทยาลัย

ภูมิทัศน์เขตชีวชาติ
ภูมิทัศน์เขตชีวชาติ

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบจึงได้มีการทาสีคานสะพานทางพิเศษเป็นสีเขียวเข้มให้คล้ายกับป่าเขียวขจีในฉากหลัง และเพื่อให้กลมกลืนกับทัศนียภาพของ Minuma Tanbo
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการติดตั้ง "ไฟส่องถนนระดับต่ำ" เพื่อไม่ให้แสงไฟที่เล็ดลอดจากสะพานต่างระดับบนทางพิเศษ Shutoko (Metropolitan Expressway) ส่งผลกระทบต่อสัตว์ในเวลากลางคืน และไม่ทำให้สัตว์สับสนระหว่างเวลากลางวันและกลางคืน อุปกรณ์ส่องสว่างนี้ถูกบรรจุไว้ในกล่องและติดตั้งบนราวสะพานทั้งสองด้านของถนน (สูงประมาณ 1 เมตรจากผิวถนน) โดยได้รับการออกแบบเพื่อให้แสงสว่างจากท้ายรถถึงพื้นถนนเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีการสร้างแก้มลิงที่คล้ายอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ภายในเขตชีวชาติ เพื่อป้องกันน้ำฝนที่ตกมาบนผิวทางพิเศษไม่ให้ไหลลงสู่แม่น้ำ Shibakawa โดยตรง เมื่อมีฝนตกหนัก และเสริมการทำงานบางส่วนในการชะลอน้ำของ Minuma Tanbo

ภาพคานสะพานบนทางพิเศษที่ทาสีให้กลมกลืนกับภูมิทัศน์

ทางแยก “สีเขียว” Ohashi (Ohashi "Green" Junction)

ทางแยก Ohashi ที่เชื่อมทางพิเศษหมายเลข 3 สาย Shibuya และ ทางพิเศษ Central Circular (วงแหวนส่วนกลาง) (อุโมงค์ Yamate) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ทางแยก “สีเขียว” Ohashi" (Ohashi Green Junction) เนื่องจากเป็นการสร้าง "เมือง" และสร้าง "ถนน" ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
การสร้าง "เมือง" ของ Ohashi เกิดจากความร่วมมือของ 4 ภาคส่วน ได้แก่ ส่วนงานพัฒนาฟื้นฟู (Tokyo) ส่วนงานการบำรุงรักษาสวนสาธารณะ (เขต Meguro) ส่วนงานบนท้องถนน (Metropolitan Expressway Company) และคนในท้องถิ่น

“3 สีเขียว”

ทางแยก “สีเขียว” Ohashi (Ohashi "Green" Junction) เป็นมาตรการที่ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อนและปรากฏการณ์เกาะความร้อน ซึ่งประกอบด้วย 3 สีเขียวที่มอบให้กับความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ “สีเขียวของการฟื้นฟูธรรมชาติ”, “สีเขียวของสวนสาธารณะ” และ “สีเขียวของภูมิทัศน์เมือง”

“สีเขียวของการฟื้นฟูธรรมชาติ”

"Ohashi village forest" คือพื้นที่สีเขียวซึ่งมีการฟื้นฟูตามธรรมชาติ ถูกสร้างขึ้นบนหลังคาสถานีระบายอากาศ Ohashi ที่ตั้งอยู่ด้านในทางแยก Ohashi มีทัศนียภาพบริเวณแม่น้ำ Meguro ในอดีตเป็นต้นแบบในการสร้าง
ในการเฝ้าสังเกตหลังจากสร้างเสร็จ พบว่ามีการขยายพันธุ์ของปลาคิลลี่ ฯลฯ ที่นำมาจากบ่อน้ำในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังพบ แมลง สัตว์น้ำ และนกหลากหลายพันธุ์

“สีเขียวของสวนสาธารณะ”

"Meguro Sky Garden" บนดาดฟ้าของทางแยก Ohashi เป็นสวนสาธารณะทรงกลมขนาดใหญ่ซึ่งบริหารโดยเขต Meguro มีความยาวประมาณ 400 ม. สูง 7 - 35 ม. และมีพื้นที่ประมาณ 7,000 ตร.ม. ด้านในทรงกลมของทางแยกมีพื้นที่เอนกประสงค์เรียกว่า “Opus Yume Hiroba” ขนาดประมาณ 3,000 ตร.ม.

"สีเขียวของภูมิทัศน์เมือง"

เปลี่ยนกำแพงทางแยก Ohashi ให้เป็นสีเขียวจากระดับพื้นดินขึ้นไปด้วยต้นตีนตุ๊กแกซึ่งเป็นไม้เลื้อยที่ให้สีเขียวชะอุ่มทั้งปี เพื่อให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ต้นตีนตุ๊กแกจะเติบโตช้าปีละประมาณ 30-50 ซม. แต่เมื่อเวลาผ่านไปจะได้สีเขียวชอุ่มแบบมีสไตล์บนกำแพงแบบโคลอสเซียม

ภาพพื้นผิวสีเขียวบนทางแยกโอฮาชิ

Ohashi village forest (Ohashi Sato no Mori)

"‘Ohashi village forest’ พื้นที่สีเขียวที่มีการฟื้นฟูตามธรรมชาติ" ได้รับการสร้างขึ้นบนหลังคาของสถานีระบายอากาศ Ohashi ซึ่งตั้งอยู่ด้านในทางแยก Ohashi มีการจำลองป่าแนวลาดเอียง ทุ่งหญ้า และเสียงน้ำจากลำธาร โดยมียุคสมัยที่ผู้คนกับธรรมชาติเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้งเป็นต้นแบบ โดยเปลี่ยนรูปทรงพิเศษของหลังคาสถานีระบายอากาศ (ประกอบด้วยส่วนลาดเอียง 28% และส่วนพื้นเรียบด้านบนและล่าง) ให้เป็นชานริมแม่น้ำ Meguro ในต้นสมัยโชวะ มีการจำลองป่าแนวลาดเอียง ทุ่งหญ้า น้ำพุธรรมชาติ ลำธาร สระน้ำ และทุ่งนาไว้ด้วย
การพัฒนาพื้นที่ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำลองทัศนียภาพการปลูกพันธุ์พืชตามทัศนียภาพเดิมบริเวณแม่น้ำ Meguro และสร้างสภาพแวดล้อมที่สามารถเพาะพันธุ์สิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ได้ มีการพบเห็นสิ่งมีชีวิตในตารางต่อไปนี้ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคมหลังจากการสร้างเสร็จ
"Ohashi village forest" เชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวกับบริเวณโดยรอบ เช่น สวนสาธารณะ Yoyogi ฯลฯ และได้รับการคาดหวังว่าจะกลายเป็นเครือข่ายเชิงนิเวศแห่งใหม่อีกหนึ่งแห่งที่มีแม่น้ำ Meguro เป็นศูนย์กลาง นอกจากนี้ "Ohashi village forest" ยังจัดกิจกรรมปลูกข้าวสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่ด้วย

ภาพแบบสมบูรณ์ของ Ohashi village forest
ภาพภูมิทัศน์ของแม่น้ำ Meguro ก่อนสร้าง
ภาพภูมิทัศน์ของแม่น้ำ Meguro หลังสร้าง
  • นก 4 ชนิด
    นกกระเบื้องผา (Blue-rock thrush)/นกอุ้มบาตรหลังดำ (Black-backed wagtail)/นกปรอดหูสีน้ำตาล (Brown-eared bulbul)/นกแว่นตาขาวหลังเขียว (Japanese white-eye)
  • แมลง 61 ชนิด (อาศัยบนบก)
    แมลงหน้าง้ำ (Common skimmer)/Autumn darter/Loxoblemmus
    campestris/Velarifictorus micado/ตั๊กแตนแคระ (Tetrigidae)/Oxya yezoensis/จักจั่นสีน้ำตาลขนาดใหญ่ (Large brown cicada)/ด้วงเต่าทองลายเจ็ดจุด (Seven-spotted lady beetle)/แมลงวันดอกไม้ (Drone fly)/ผีเสื้อตรงสวิฟท์ (The straight swift)/ผีเสื้อหางแฉก (Asian swallowtail) ฯลฯ
  • แมลง 8 ชนิด (อาศัยในน้ำ)
    Gray diving beetle/มวนกรรเชียง (Backswimmers)/จิงโจ้น้ำชนิดหนึ่ง (One type of water strider)/แมลงปอเข็มเอเชีย (ตัวอ่อนแมลงปอ) (Ischnura asiatica)/Anax parthenope (ตัวอ่อนแมลงปอ)/แมลงปอเค็ม (ตัวอ่อนแมลงปอ) (Orthetrum albistylum speciosum)/Scarlet skimmer (ตัวอ่อนแมลงปอ)/Sigara substriata
ภาพวงจรของสิ่งมีชีวิต
การปลูกข้าว

การปลูกข้าว

กิจกรรมสำรวจธรรมชาติ

กิจกรรมสำรวจธรรมชาติ

การเกี่ยวข้าว

การเกี่ยวข้าว

การนวดข้าว

การนวดข้าว

การได้รับการขึ้นทะเบียนใน "ทะเบียนพื้นที่สีเขียว EDO-MIDORI" (EDO-MIDORI Registration Green Space)

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ปี ค.ศ. 2019 Ohashi Village Forest ได้รับการขึ้นทะเบียนใน"ทะเบียนพื้นที่สีเขียว EDO-MIDORI" (EDO-MIDORI Registration Green Space) (*) ซึ่งเป็นระบบของมหานคร Tokyo ในการขึ้นทะเบียนการเพาะปลูกพันธ์พืชดั้งเดิม

Ohashi Village Forest ได้รับการประเมินในระดับสูงด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  • เน้นการเพาะปลูกพันธุ์พืชดั้งเดิมเท่านั้น
  • รักษาสภาพธรรมชาติไว้ได้โดยไม่เข้าไปแทรกแซงมากเกินไป
  • มีวิธีดูแลรักษาโดยไม่ใช้สารกำจัดศัตรูพืช
  • (*) "ทะเบียนพื้นที่สีเขียว EDO-MIDORI" (EDO-MIDORI Registration Green Space) คือ ระบบที่มหานคร Tokyo ใช้ขึ้นทะเบียนและประกาศการเป็นพื้นที่สีเขียว ที่มีการเพาะปลูกพันธู์พืชดั้งเดิม และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

การได้รับการรับรองมาตรฐาน JHEP “AAA” (ระดับสูงสุด)

"Ohashi village forest" จำลองทัศนียภาพดั้งเดิมบริเวณแม่น้ำ Meguro ในอดีต โดยการฟื้นฟูพื้นที่ธรรมชาติอย่างมีคุณภาพ เช่น การกำหนดให้มีเฉพาะพืชที่เป็นสายพันธุ์ประจำถิ่น โดยใช้ธรรรมชาติในพื้นที่จริงเป็นตัวอย่าง
ตั้งแต่เริ่มพัฒนาพื้นที่ เราได้ทำการดูแลรักษาและจัดการพื้นที่เป็นอย่างดี ไม่ให้มีการตัดต้นไม้มากเกินไปเพื่อให้ต้นไม้ใบหญ้าตามธรรมชาติได้เจริญเติบโต และกำจัดสายพันธุ์ต่างถิ่นเพื่อให้สายพันธุ์ประจำถิ่นเจริญเติบโตได้
"Ohashi village forest" ได้รับเสียงชื่นชมจากความพยายามในการพัฒนาและดูแลรักษา โดยได้รับการจัดอันดับสูงสุด “AAA” จากการรับรองมาตรฐาน JHEP

  • *การรับรองมาตรฐาน JHEP (Japan Habitat Evaluation and Certification Program) คือระบบประเมินเชิงปริมาณด้านการสนับสนุนและผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพจากการริเริ่มต่าง ๆ ขององค์กร เปรียบเทียบก่อนและหลังเริ่มโครงการ ในญี่ปุ่น The Ecosystem Conservation Society-Japan เป็นผู้ประเมินและให้การรับรอง ถือเป็น HEP ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐอเมริกาในช่วงปี ค.ศ. 1970 - 1980 ในฐานะเครื่องมือการประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงปริมาณ ฉบับภาษาญี่ปุ่น
ภาพพิธีมอบใบรับรอง JHEP

โครงการอื่น ๆ ของ Metropolitan Expressway (Shutoko)