แผนรองรับต่อเนื่อง (Business continuity plan or BCP) สำหรับกรณีเกิดภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
บริษัทได้จัดทำ “แผนรองรับต่อเนื่องสำหรับกรณีเกิดภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ (BCP) ฉบับที่ 1” ขึ้นในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2009 เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถทำหน้าที่ในฐานะเส้นทางการจราจรฉุกเฉิน และดำเนินการตามมาตรการป้องกันภัยพิบัติได้แม้ได้รับความเสียหายเมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2011 ได้จัดทำแผนฯ ฉบับที่ 2 ขึ้นมา โดยมีการเพิ่มมาตรการสำหรับรับมือกับปัญหาใหม่ที่ได้รับทราบจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางภาคตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังได้จัดทำแผนฯ ฉบับที่ 3 ขึ้น เนื่องจากมีการแก้ไขกฎหมายพื้นฐานเพื่อรับมือกับภัยพิบัติในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2014 โดยมีการเพิ่มระเบียบว่าด้วยการเคลื่อนย้ายยานพาหนะที่จอดทิ้งไว้โดยผู้บริหารจัดการทาง
1. ข้อมูลพื้นฐาน
แผ่นดินไหวที่คาดการณ์ไว้
แผ่นดินไหวที่คาดการณ์ไว้ใน BCP ฉบับนี้ คือ แผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวอยู่ใต้ใจกลางเมือง (M7.3) และมีความรุนแรงสูงสุดที่ระดับ 6 (ระดับ 7 บางส่วน)
แนวทางการปฏิบัติ
BCP คาดการณ์ถึงกรณีที่พนักงานไม่สามารถติดต่อกันได้เมื่อเกิดความวุ่นวายหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว หากเกิดแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงระดับ 5 ขึ้นไปภายในพื้นที่ควบคุมของ Metropolitan Expressway (Shutoko) ผู้บริหารและพนักงานสามารถกระทำการได้อย่างอิสระ
2. เนื้อหาหลัก
ระบบสำนักงานใหญ่
มีการกำหนดให้กรรมการที่รับผิดชอบด้านการป้องกันภัยพิบัติซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในนามผู้จัดการทั่วไป (ประธานบริษัท) หรือผู้จัดการฝ่ายการบำรุงรักษาและการจราจรพักอาศัยใกล้สำนักงานใหญ่ และให้รีบไปที่สำนักงานใหญ่ทันทีหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่นอกเวลางาน
ระบบการรวมพล
มีการสร้างระบบรวมพลขึ้นเพื่อให้เกิดความราบรื่นในการรับมือกรณีเกิดแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงระดับ 5 ขึ้นไป โดยกำหนดให้พนักงานที่อาศัยอยู่ใกล้สำนักงาน (โดยทั่วไปภายในรัศมี 6 กม.) เป็นพนักงานรวมพลชุดแรกที่ทำการรวมพลเมื่อแผ่นดินไหวมีความรุนแรงระดับ 5 ขึ้นไป และให้พนักงานฝ่ายเทคนิคทุกคนเป็นพนักงานที่ต้องมารวมพล
การลาดตระเวนจราจรพิเศษ
การลาดตระเวนจราจรพิเศษหลังเกิดแผ่นดินไหว คือการปิดทางเข้าและเคลื่อนย้ายรถที่ติดค้างอยู่ภายในเวลา 3 ชั่วโมง และมีการจัดเตรียมวิธีการอพยพอย่างเป็นขั้นตอนไว้ที่ด่านเก็บค่าผ่านทางแต่ละแห่ง (เส้นทางสำหรับการจัดการจุดพักรถ, ทางออกที่ใกล้ที่สุด ฯลฯ)
การตรวจสอบโครงสร้างใต้ส่วนยกระดับ
มีการกำหนดเส้นทางสำคัญที่ต้องตรวจสอบก่อน (ประมาณ 88 กม. หรือประมาณ 30% ของเส้นทางทั้งหมด) โดยต้องตรวจสอบโครงสร้างใต้ส่วนยกระดับส่วนนี้ภายใน 3 ชั่วโมง และดำเนินการตรวจสอบโครงสร้างใต้ส่วนยกระดับในเส้นทางอื่น ๆ ต่อไปให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
มาตรการรับมือคลื่นยักษ์สึนามิ
มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นสึนามิจากกรมอุตุนิยมวิทยาและจากรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อทำความเข้าใจและระบุจุดที่จะได้รับ
ผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ พร้อมทั้งกำหนดวิธีการรับมือ
การเตรียมสำนักงานสำรอง
มีการคาดการณ์ถึงกรณีที่ที่สำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขาอื่นไม่สามารถใช้การได้เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว และทำการจัดเตรียมสำนักงานสำรองไว้
การรักษาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร
มีการจัดเตรียมอุปกรณ์สื่อสารและวิธีการสื่อสารไว้หลายรูปแบบ เพื่อให้สามารถสื่อสารภายในองค์กรและสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แม้ตอนประสบภัยพิบัติ
การเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางออกจากถนน
มีการกำหนดวิธีดำเนินการและการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเคลื่อนย้ายสิ่งกีดกวาง รวมถึงรถที่ถูกจอดทิ้งไว้ออกจากถนน
*หัวข้อสำคัญในการดำเนินมาตรการป้องกันภัยพิบัติตาม BCP ถูกกำหนดตามที่ระบุไว้ในตาราง PDF(PDF/47KB)(ภาษาญี่ปุ่น)