โครงการเพื่อบรรเทาความหนาแน่นของการจราจร
มาตรการรับมือกับความหนาแน่นของการจราจร
แม้การพัฒนาโครงข่ายสายทางที่ดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันจะช่วยลดความหนาแน่นของการจราจรช่วงทางพิเศษ Inner Circular (วงแหวนรอบใน) ลง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังเหลือปัญหาที่ค้างคาอยู่ เช่น การจราจรที่หนาแน่นขึ้นบริเวณทางพิเศษ Central Circular (วงแหวนส่วนกลาง) ดังนั้นทางบริษัทฯ จึงได้กำหนด “วิสัยทัศน์ขับขี่สบายบนทางพิเศษ Shutoko” ขึ้นมาเป็นแผนงานรวมที่ผนวกเอามาตรการแบบที่ไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการให้ข้อมูลการจราจร การปรับปรุงป้ายและเส้นแบ่งช่องจราจร เข้าด้วยกันกับมาตรการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณคอขวด เช่น การเพิ่มช่องทางจราจรจากการพัฒนาและขยายโครงข่ายสายทาง โดยมีเป้าหมายในการสร้างทางพิเศษ Shutoko (Metropolitan Expressway) ที่ช่วยให้การเดินทางราบรื่นและสะดวกสบาย
ประเภทความหนาแน่นของการจราจร (อัตราการเกิด)
มาตรการรับมือกับความหนาแน่นของการจราจร
ความหนาแน่นจากการจราจรกระจุกตัว (ประมาณ 83%)*
มาตรการรับมือกับความหนาแน่นทางการจราจร
มาตรการแก้ปัญหาการรลดความเร็วเมื่อขับขึ้นทางลาดชัน
- · ป้องกันการลดความเร็วด้วยไฟนำทาง (Escort Light)
- · แสดงข้อความให้เร่งความเร็วกลับมา
- · จัดช่องทางจราจรเพิ่ม
- · เตือนด้วยป้ายและสัญลักษณ์บนพื้นถนน
มาตรการรับมือกับความหนาแน่นทางการจราจร
มาตรการแก้ปัญหาการจราจรกระจุกตัว
- · ให้บริการข้อมูลการจราจรในบริเวณกว้าง
- · ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงวันที่การจราจรหนาแน่นด้วยปฏิทินคาดการณ์ความหนาแน่นทางการจราจร
- · พัฒนาโครงข่ายสายทางที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ
มาตรการรับมือกับความหนาแน่นทางการจราจร
มาตรการในส่วนทางร่วม
- · ปรับเปลี่ยนการใช้งานส่วนที่เส้นทางมาบรรจบตรงทางแยกต่างระดับตามปริมาณการจราจรในแต่ละช่วงเวลา
- · ควบคุมการปล่อยรถเข้าบริเวณทางเข้า
- · ปรับปรุงเส้นแบ่งถนนให้สอดคล้องกับสภาพการจราจร
- · เพิ่มช่องทางจราจรด้วยการขยายขนาดทาง
ความหนาแน่นจากการเกิดอุบัติเหตุและรถเสีย (ประมาณ 13%)*
มาตรการรับมือกับความหนาแน่นทางการจราจร
เพิ่มความรวดเร็วในการเคลื่อนย้ายรถที่ประสบอุบัติเหตุหรือจอดเสีย
ความหนาแน่นจากการก่อสร้าง (ประมาณ 4%)*
มาตรการรับมือกับความหนาแน่นทางการจราจร
เพิ่มประสิทธิภาพและรวบการก่อสร้างให้แล้วเสร็จในครั้งเดียว รวมถึงแจ้งข้อมูลทางเลี่ยงจุดที่มีการก่อสร้าง
การติดตั้งไฟนำทาง (Escort Light)
มีการติดตั้ง “ไฟนำทาง (Escort Light)” เพื่อเป็นมาตรการรับมือกับความหนาแน่นทางการจราจร โดยใช้ไฟส่องสว่างที่ติดตั้งไว้ข้างทางส่องนำทางไปตามทิศทางการเดินรถเพื่อป้องกันการลดความเร็ว และกระตุ้นให้ผู้ขับขี่เร่งความเร็วกลับขึ้นมาขณะขับขึ้นเนินเพื่อบรรเทาความหนาแน่นทางการจราจร
ปรับปรุงเส้นแบ่งถนนให้สอดคล้องกับสภาพการจราจร
มีการปรับปรุงเส้นแบ่งถนนให้เหมาะสมกับสภาพการจราจรและปริมาณการจราจรที่เปลี่ยนแปลง เพื่อบรรเทาความหนาแน่นทางการจราจร
ประชาสัมพันธ์วันที่มีการจราจรหนาแน่นด้วยปฏิทินคาดการณ์ความหนาแน่นทางการจราจร
เผยแพร่ปฏิทินคาดการณ์ความหนาแน่นทางการจราจรบนเว็บไซต์และใบปลิว สำหรับการคาดการณ์ความหนาแน่นของแต่ละวันแบ่งออกเป็น 4 ระดับโดยอ้างอิงจากข้อมูลในอดีต
การตอบสนองต่อความคิดเห็นจากลูกค้า
มีการจัดตั้ง “Shutoko Customer Center” เพื่อเป็นศูนย์กลางการติดต่อเกี่ยวกับทางพิเศษ Shutoko (Metropolitan Expressway) จากลูกค้า และตอบสนองต่อความคิดเห็นจากลูกค้าอย่างรวดเร็ว
ตัวอย่างการปรับปรุง ①
ความคิดเห็นจากลูกค้า: “เส้นทางตรงวงเวียน Hakozaki เข้าใจยากมากไม่รู้ว่าต้องไปทางไหน”
วิธีการแก้ไข: ใช้สีแยกช่องทางจราจรแบ่งตามทิศทาง และใช้ป้ายนำทางเพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถตัดสินใจเลือกปลายทางที่จะไปได้
ตัวอย่างการปรับปรุง ②
ความคิดเห็นจากลูกค้า: “มีรถหลายคันเปลี่ยนเลนบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทาง Kinshincho ทำให้ขับรถได้ไม่ราบรื่น”
วิธีการแก้ไข: จำกัดการเปลี่ยนช่องทางจราจรบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางเพื่อควบคุมกระแสรถ นอกจากนี้ยังได้เพิ่มป้ายนำทางและเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานช่องเดินรถอีกด้วย
เพิ่มบริการรถบัสทางหลวง (Highway Bus) และการเดินทางด้วยรถราง (Rail Rides)
มีการจัดเตรียมจุดจอดรถบัสไว้ที่จุดพักรถ Yashio และจุดพักรถ Yoga สำหรับลูกค้าที่ใช้รถบัสทางด่วนเพื่อมุ่งหน้าสู่ใจกลางเมือง และต้องการหลีกเลี่ยงความหนาแน่นทางการจราจรบนทางพิเศษ Shutoko ลูกค้าสามารถลงจากรถบัสทางหลวง เพื่อเปลี่ยนไปต่อรถรางแทนได้ในเวลาที่การจราจรบนทางพิเศษ Shutoko มีความหนาแน่น
จุดที่สามารถต่อรถไฟได้
จุดพักรถ Yashio → สถานีรถไฟ Yashio สาย Tsukuba Express
(เดินประมาณ 5 นาที)
จุดพักรถ Yoga → สถานีรถไฟ Yoga สาย Tokyu Den-en-toshi
(เดินประมาณ 5 นาที)
ราคาตั๋วกรณีต่อรถไฟ
สถานีรถไฟ Yashio → สถานีรถไฟ Akihabara (100 เยน)
โครงการอื่น ๆ ของ Metropolitan Expressway (Shutoko)