ไอคอนกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยโครงการด้านความปลอดภัย

02. มาตรการด้านความปลอดภัยทางจราจร

มีการดำเนินมาตรการด้านความปลอดภัยทางจราจรทั้งในรูปแบบที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น การติดตั้งอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยทาการจราจร และจัดกิจกรรมเสริมสร้างจิตสำนึกเรื่องการขับขี่ปลอดภัย เป็นต้น

การใช้วัสดุลาดยางประสิทธิภาพสูง

มีการนำ "วัสดุลาดยางประสิทธิภาพสูง" ที่มีคุณสมบัติในการระบายน้ำ ลดเสียงดัง และมีความทนทานสูง เข้ามาใช้งานบนทางพิเศษ Shutoko (Metropolitan Expressway) อย่างจริงจัง วัสดุลาดยางชนิดนี้มีลักษณะเป็นรูพรุนซึ่งทำให้ระบายน้ำได้เร็วในวันฝนตก ลดการสาดกระเซ็นของน้ำจากรถที่วิ่งอยู่ได้ ทำให้มองเห็นผิวถนนและเส้นแบ่งช่องทางจราจรชัดขึ้น นอกจากนี้ เสียงที่เกิดขึ้นระหว่างยางรถและพื้นถนนที่ลดลง ยังส่งผลให้เสียงรบกวนที่สะท้อนจากพื้นถนนลดลงด้วย

เปรียบเทียบการระบายน้ำ (1)
เปรียบเทียบการระบายน้ำ
เปรียบเทียบการระบายน้ำ (2)
เปรียบเทียบความเงียบ (1)
เปรียบเทียบความเงียบ
เปรียบเทียบความเงียบ (2)

การปรับปรุงเรื่องการจัดการช่องเดินรถที่ทางแยกต่างระดับ

วิธีจัดการช่องเดินรถที่ทางร่วมทางแยก จะคำนึงถึงสภาพการจราจรติดขัดที่อาจเกิดจากสภาพการจราจร รูปทรงถนน และการเปลี่ยนช่องเดินรถ โดยมุ่งหวังให้การจัดการช่องเดินรถเป็นไปอย่างราบรื่น ปลอดภัย และเหมาะสมกับสภาพบริเวณนั้น ๆ

การปรับปรุงทางร่วม

การรวมเส้นทางเดินรถที่มี 2 ช่องเดินรถ กับ 2 ช่องเดินรถ จะเกิดขึ้นที่หน้าทางแยกต่างระดับ โดยจะลดเหลือเส้นทางละ 1 ช่องเดินรถก่อน และเส้นทางที่มี 1 ช่องเดินรถกับ 1 ช่องเดินรถจะรวมกันกลายเป็น 1 เส้นทางที่มี 2 ช่องเดินรถ

ภาพทางร่วมก่อนการปรับปรุง
ภาพทางร่วมหลังการปรับปรุง

การปรับปรุงทางแยก

การแยกเส้นทางเดินรถที่มี 2 ช่องเดินรถ (หรือ 3 ช่องเดินรถ) ออกเป็น 2 เส้นทาง ส่วนที่เป็น 2 ช่องเดินรถ จะแตกออกไปทางซ้ายและขวาอย่างละ 1 ช่องเดินรถ

ภาพการปรับปรุงทางแยก

การติดตั้งอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยทางการจราจร

บนทางพิเศษ Shutoko (Metropolitan Expressway) มี "การทาสีพื้นถนนเพื่อแสดงการเตือน" และ มี "แถบสลับสีแจ้งเตือนส่วนทางโค้ง" เพื่อเป็นการนำสายตาในช่วงทางโค้งที่มีอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับวัตถุที่ถูกติดตั้งไว้บ่อย ๆ และยังมีการติดตั้ง "ป้ายเตือนขนาดใหญ่" ที่แสดงตำแหน่งและลักษณะทางโค้ง ทางแยก และทางร่วม ฯลฯ เพื่อให้ผู้ขับขี่ทราบด้วยตนเองว่าจะต้องขับขี่อย่างระมัดระวังมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการเตือนให้คำนึงถึงความปลอดภัยตลอดเส้นทาง เช่น มี "แถบเส้นประแบบถี่" เพื่อควบคุมความเร็ว และมีการติดตั้ง "อุปกรณ์ลดแรงกระแทกบริเวณทางแยก" เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงที่ทางแยก มีการติดตั้ง "ป้ายข้อมูลแสดงตำแหน่งหางแถวของช่วงที่มีการจราจรหนาแน่น" บริเวณหน้าจุดที่เริ่มเกิดการจราจรติดขัด เพื่อเตือนผู้ขับขี่ให้ระวังอุบัติเหตุชนท้ายคันหน้า

การทาสีพื้นถนนเพื่อแสดงการเตือน

การทาสีพื้นถนนเพื่อแสดงการเตือน

แถบสลับสีแจ้งเตือนส่วนทางโค้ง

แถบสลับสีแจ้งเตือนส่วนทางโค้ง

ป้ายเตือนขนาดใหญ่

ป้ายเตือนขนาดใหญ่

แถบเส้นประแบบถี่

แถบเส้นประแบบถี่

อุปกรณ์ลดแรงกระแทกบริเวณทางแยก

อุปกรณ์ลดแรงกระแทกบริเวณทางแยก

ป้ายข้อมูลแสดงตำแหน่งหางแถวของบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น

ป้ายข้อมูลแสดงตำแหน่งหางแถวของบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่น

กิจกรรมการสร้างจิตสำนึก เช่น การสัมมนาเชิงปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางจราจร

นอกจากจะมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการขับขี่ปลอดภัย การตรวจเช็ครถก่อนออกเดินทาง และการป้องกันวัตถุร่วงหล่นด้วย ใบปลิว โปสเตอร์ และการรณรงค์ความปลอดภัยทางจราจรแล้ว ยังมีการร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลาดตระเวนดูแลความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อควบคุมรถที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบการควบคุมยานพาหนะ และกลุ่มนักซิ่งที่ใช้ทางพิเศษสายวงแหวนแทนสนามแข่งรถ

ภาพกิจกรรมการสร้างจิตสำนึก เช่น การสัมมนาเชิงปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางจราจร

การห้ามคนเดินเท้าและจักรยานเข้ามาในทางพิเศษ Shutoko (Metropolitan Expressway)

ห้ามคนเดินเท้าและจักรยานเข้ามาในทางพิเศษ Shutoko (Metropolitan Expressway) (พระราชบัญญัติจราจรทางบกมาตรา 48 - 11) การเข้ามาในทางพิเศษเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ ห้ามฝ่าฝืนเป็นอันขาด ทั้งนี้ทางพิเศษ Shutoko (Metropolitan Expressway) เป็นถนนสำหรับรถเท่านั้น คนเดินเท้า พาหนะที่ไม่มีเครื่องยนต์ เช่น จักรยาน จักรยานไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ที่กำลังเครื่องยนต์ต่ำกว่า 125 cc ไม่สามารถผ่านทางได้ หากฝ่าฝืนเข้าสู่ทางพิเศษ Shutoko (Metropolitan Expressway) จะมีการแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ฝ่าฝืนจะถูกควบคุมตัวและได้รับหนังสือเตือนห้ามไม่ให้กระทำผิดซ้ำ

ป้ายห้ามออก

ป้ายห้ามออก

ป้ายสัญลักษณ์ “ห้ามเข้า”

ป้าย “ห้ามเข้า”

สัญลักษณ์ “ห้ามเข้า” บนพื้นถนน

สัญลักษณ์ “ห้ามเข้า” บนพื้นถนน

การแสดงเครื่องหมาย “X” ด้วย LED

การแสดงเครื่องหมาย “X” ด้วย LED

ภาพป้ายเตือน LED, รั้ว ฯลฯ

ป้ายเตือน LED, รั้ว ฯลฯ

ป้ายห้ามเข้า

ป้ายห้ามเข้า

อุปกรณ์ป้องกันการขับขี่ย้อนศร (ป้ายแสดงสัญลักษณ์และอุปกรณ์ควบคุม)

อุปกรณ์ป้องกันการขับขี่ย้อนศร (ป้ายแสดงสัญลักษณ์และอุปกรณ์ควบคุม)

มาตรการด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันภัยในอุโมงค์

ในอุโมงค์มีการเฝ้าระวังด้วยอุปกรณ์ป้องกันภัยและระบบจัดการความปลอดภัยอันทันสมัย หากเกิดไฟไหม้ในอุโมงค์ อุปกรณ์แจ้งข้อมูลและอุปกรณ์ป้องกันภัยพิบัติจะถูกควบคุมจากห้องควบคุม เพื่อควบคุมความเสียหายให้เกิดน้อยที่สุด ในขณะที่ผู้ขับขี่จะได้รับการแนะนำให้สามารถอพยพออกไปได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ เพื่อการตอบสนองในเบื้องต้นอย่างรวดเร็วต่ออุบัติเหตุในอุโมงค์ Yamate เราเป็นบริษัทเอกชนแห่งแรกในญี่ปุ่นที่นำรถจักรยานยนต์สำหรับเหตุฉุกเฉิน หรือ “Metropolitan Expressway Bike Unit” เข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยภายในอุโมงค์ในเมืองที่มีความยาวมาก

อุปกรณ์ฉีดน้ำ

อุปกรณ์ฉีดน้ำ

ทางออกฉุกเฉิน

ทางออกฉุกเฉิน

อุปกรณ์ดับเพลิง, หัวดับเพลิงแบบโฟม

อุปกรณ์ดับเพลิง, หัวดับเพลิงแบบโฟม

โครงการอื่น ๆ ของ Metropolitan Expressway (Shutoko)